วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553


การบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ หัวใจเต้น 1 ครั้งจะประกอบด้วยการบีบตัวและการคลายตัวของหัวใจทั้งบนและล่าง ซึ่งโดยปกติ เราจะแบ่งจังหวะการเต้นของ หัวใจเป็น 2 จังหวะโดยยึดตามหัวใจห้องล่างเป็นหลักคือ จังหวะการบีบตัว เราเรียกว่า systole จะเป็นจังหวะที่ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดและลิ้นหัวใจไมตรัลปิด และหัวใจห้องล่างขวา-ซ้ายบีบตัวเพื่อนำเลือดผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี่และลิ้นหัวใจเอออร์ติคซึ่งเปิดออก ไปสู่ เส้นเลือดแดงพัลโมนารี่และเส้นเลือดแดงเอออร์ตา ตามลำดับ จังหวะการคลายตัว เราเรียกว่า diastole จะเป็นจังหวะที่ลิ้นหัวใจพัลโมนารี่และลิ้นหัวใจเอออร์ติคปิด ส่วนลิ้นหัวใจ ไตรคัสปิด และ ลิ้นหัวใจไมตรัล จะเปิดออกทำให้เลือดที่อยู่ในหัวใจห้องบนไหลลงสู่หัวใจห้องล่าง ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับ ที่หัวใจห้องล่าง ทั้งขวาและ ซ้ายคลายตัวเพื่อรับเลือดนั่นเอง ในช่วงจังหวะปลายของระยะนี้ หัวใจห้องบนทั้งขวาและซ้ายจะ บีบเค้น เอาเลือดส่วนที่เหลือให้ ออกจาก หัวใจห้องบนลงสู่หัวใจห้องล่าง จากนั้นจะเริ่มเข้ารอบใหม่ของการเต้นของหัวใจคือ systole คือลิ้นหัวใจไตรคัสปิด และลิ้นหัวใจ ไมตรัลจะปิดอีกครั้งเพื่อเตรียมให้หัวใจห้องล่างบีบเลือดส่งออกไป โดยหัวใจห้องล่างขวาบีบ เลือดไปที่เส้นเลือด แดงพัลโมนารี่(ซึ่งที่จริงแล้วมีแต่เลือดดำ) เพื่อไปฟอกเลือดที่ปอดและหัวใจห้องล่างซ้าย บีบเลือดไปที่เส้นเลือด แดงเอออร์ตา เพื่อนำเลือดแดงไปเลึ้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย