วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553


การบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ หัวใจเต้น 1 ครั้งจะประกอบด้วยการบีบตัวและการคลายตัวของหัวใจทั้งบนและล่าง ซึ่งโดยปกติ เราจะแบ่งจังหวะการเต้นของ หัวใจเป็น 2 จังหวะโดยยึดตามหัวใจห้องล่างเป็นหลักคือ จังหวะการบีบตัว เราเรียกว่า systole จะเป็นจังหวะที่ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดและลิ้นหัวใจไมตรัลปิด และหัวใจห้องล่างขวา-ซ้ายบีบตัวเพื่อนำเลือดผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี่และลิ้นหัวใจเอออร์ติคซึ่งเปิดออก ไปสู่ เส้นเลือดแดงพัลโมนารี่และเส้นเลือดแดงเอออร์ตา ตามลำดับ จังหวะการคลายตัว เราเรียกว่า diastole จะเป็นจังหวะที่ลิ้นหัวใจพัลโมนารี่และลิ้นหัวใจเอออร์ติคปิด ส่วนลิ้นหัวใจ ไตรคัสปิด และ ลิ้นหัวใจไมตรัล จะเปิดออกทำให้เลือดที่อยู่ในหัวใจห้องบนไหลลงสู่หัวใจห้องล่าง ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับ ที่หัวใจห้องล่าง ทั้งขวาและ ซ้ายคลายตัวเพื่อรับเลือดนั่นเอง ในช่วงจังหวะปลายของระยะนี้ หัวใจห้องบนทั้งขวาและซ้ายจะ บีบเค้น เอาเลือดส่วนที่เหลือให้ ออกจาก หัวใจห้องบนลงสู่หัวใจห้องล่าง จากนั้นจะเริ่มเข้ารอบใหม่ของการเต้นของหัวใจคือ systole คือลิ้นหัวใจไตรคัสปิด และลิ้นหัวใจ ไมตรัลจะปิดอีกครั้งเพื่อเตรียมให้หัวใจห้องล่างบีบเลือดส่งออกไป โดยหัวใจห้องล่างขวาบีบ เลือดไปที่เส้นเลือด แดงพัลโมนารี่(ซึ่งที่จริงแล้วมีแต่เลือดดำ) เพื่อไปฟอกเลือดที่ปอดและหัวใจห้องล่างซ้าย บีบเลือดไปที่เส้นเลือด แดงเอออร์ตา เพื่อนำเลือดแดงไปเลึ้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การสลายสารอาหารระดับเซลล์


-สารอาหารที่ลำเลียงเข้าสู่เซลล์และสามารถให้พลังงานแก่เซลล์ได้ เช่น มอโนแซ็กคาไรด์ กรดอะมิโน กลีเซอรอล และกรดไขมัน แต่เซลล์ยังไม่สามารถนำพลังงานจากสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้จะต้องมี
กระบวนการสลายสารอาหารภายในเซลล์เพื่อเปลี่ยนพลังงานของพันธะเคมี
ของสารอาหารให้มาอยู่ในรูปสารประกอบพลังงานสูงที่เซลล์พร้อมที่จะนำพลังงานไปใช้ได้เช่น


ATP เรียกกระบวนการสลายโมเลกุลของสารอาหารในเซลล์เพื่อให้ได้พลังงานนี้ว่าการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ( Cellular respiration )



ATP เป็นสารที่มีพลังงานสูงทำหน้าที่เก็บพลังงานที่ได้จากกระบวนการการสลายสารอาหารของเซลล์
ประกอบด้วยสารอินทรีย์ 2 ชนิดต่อกัน คือ เบสอะดีนีนกับน้ำตาลไรโบส ซึ่งเรียกว่าอะดีโนซีน
แล้วจึงต่อกับหมู่ฟอสเฟต 3 หมู่ หมูฟอสเฟตแรกที่จับกับน้ำตาลไรโบสมีพลังงานพันธะต่ำ
ส่วนพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างหมู่ฟอสเฟตแรกกับหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 2 กับหมู่ที่ 3 มีพลังงานพันธะสูง
เมื่อสลายสลายแล้วจะได้พลังงาน 7.3 กิโลแคลอรี/โมล
ขณะที่สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ เซลล์จะมีการสลาย ATP โดย ATP
จะเปลี่ยนเป็น อะดีโนซีนไดฟอสเฟต ( adenosine diphosphate : ADP ) และหมู่ฟอสเฟตหรือเปลี่ยนเป็นอะดีโนซีนมอโนฟอสเฟต ( adenosine monophosphate : AMP ) และหมู่ฟอสเฟตเพื่อได้พลังงานสำหรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของร่างกายตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องมีการสร้าง ATP ใหม่ขึ้นมาทดแทน กระบวนการสร้าง ATP จาก ADPและหมู่ฟอสเฟตนี้เรียกว่ากระบวนการฟอสโฟรีเลชัน ( Phosphorylation )
การสลายสารอาหารระดับเซลล์มีทั้งแบบใช้ ออกซิเจน และ ไม่ใช้ ออกซิเจน มีดังนี้






1.การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน







กระบวนการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจนเป็นการสลายสารอาหารโดยเบื้องต้น
โดยการสลายจากกลูโคสเป็นพลังงาน ATP ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
1. ไกลโคลิซิส (Glycolysis)
2. วัฏจักครเครบส์ (Krebs cycle)
3. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน (Electron transport chain)





2.การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน


ในกรณีที่ไม่มีออกซิเจน ATP ที่ได้จะมาจากกระบวนการ substrate-level phosphorylation ขณะที่กลูโคสเปลี่ยนเป็นไพรูเวต จากนั้นผลผลิตสุดท้ายของไกลโคลิซีส คือ ไพรูเวต
ทำหน้าที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอนเพื่อจะออกซิไดซ์ NADH กลับไปเป็น NAD +
ซึ่งสามารถถูกนำกลับไปใช้ใหม่ใน วิถีไกลโคลิซีส ผลผลิตสุดท้าย (ที่ถือว่าเป็นของเสีย)
จากกระบวนการหมักดังรูปอาจจะเป็นแอลกอฮอล์ (ethanol) หรือแลกเตต (lactate )
ซึ่งเป็น lactic acid ในรูป ที่แตกตัว (ionized) แล้ว


วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะ ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะไม่มีการย่อยแต่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร การย่อยอาหาร เป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ มีขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ได้ การย่อยมี 2 ลักษณะคือ

1. การย่อยเชิงกล (Mechanical digestion) คือ อาหารที่ถูกฟันบดเคี้ยวทำให้มีขนาดเล็กลงแต่ยังไม่สามารถแปรสภาพอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง
2. การย่อยทางเคมี (Chemical digestion) คือ อาหารเหล่านี้จะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลให้เล็กลงไปอีกโดยเอนไซมในน้ำลาย จะมีน้ำย่อยอยู่ การย่อยอาหารจะเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกายโดยผ่าน ปาก ลิ้น ฟัน ต่อจากนั้นอาหารจะถูกลืนผ่านลำคอไปตามอวัยวะต่าง ๆ

-ปากเป็นอวัยวะสำคัญเริ่มแรกสำหรับการย่อยอาหารทำหน้าที่เป็นทางเข้าอาหาร ภายในปากมีส่วนประกอบที่สำคัญคือลิ้น ฟันและต่อมน้ำลายการย่อยอาหารในปากจึงมีทั้งการย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวของฟัน และการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลส เมื่ออาหารผ่านสู่กระเพาะอาหาร เอนไซม์อะไมเลสจะไม่ทำงานเพราะในกระเพาะอาหารมีกรดไฮโดรคลอริก (อะไมเลสทำงานได้ดีในสภาพเป็นกลาง หรือกรดเล็กน้อย และอุณหภูมิร่างกาย)

-หลอดอาหารทำหน้าที่หดตัว บีบอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร เพราะหลอดอาหารมีผนังที่ยึดและหดตัวได้บริเวณคอหอยมีช่องเปิดเข้าสู่หลอดลมและหลอดอาหารส่วนบนของหลอดลมมีแผ่นกระดูกอ่อนปิดกั้นกัน อาหารเข้าไปในหลอดลมขณะกลืนอาหารเรียกว่า ฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ภายในโพรงปาก ด้านบนมีเพดานอ่อน (soft palate) ห้อยโค้งลงมาใกล้กับโคนลิ้นขณะที่อาหารผ่านเข้าสู่ลำคอ เพดานอ่อนจะถูกดันยกไปปิดช่องหายใจ อากาศผ่านช่องนี้ไม่ได้ อาหารนั้นจะถูกกล้ามเนื้อลิ้นบังคับให้ผ่านเข้าไปในหลอดอาหารได้พร้อมกับฝาปิดกล่องเสียงจะปิดหลอดลมในขณะที่ส่วนกล่องเสียงทั้งหมด ยกขึ้น ทำให้ฝาปิดกล่องเสียงปิดหลอดลมได้สนิท อาหารจึงเคลื่อนลงไปในหลอดอาหารได้โดยไม่ผลัดตกลงไปในหลอดลม

-กระเพาะอาหาร (Stomach)เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร

-ลำไส้เล็ก (Small Intestine) เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร ต่อมาจากกระเพาะอาหาร มีความยาวประมาณ 7-8 เมตร ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นลอนตามขวาง มีส่วนยื่นเล็กๆมากมายเป็นตุ่ม เรียกว่า วิลลัส (Villus พหูพจน์เรียกว่า Villi) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-สำไส้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 1.50 เมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
ซีกัม (Caecum) เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ยาวประมาณ 6.3-7.5 เซนติเมตร
มีไส้ติ่ง (Appendix) ยื่นออกมาขนาดราวนิ้วก้อย (ยาวประมาณ 3 นิ้ว) เหนือท้องน้อย ทางด้านขวา ไส้ติ่งถือว่าเป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง ในสัตว์กินพืชจะมีขนาดยาว ทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารในคนไม่มีประโยชน์ ถ้าอักเสบต้องรีบผ่าตัดออกโดยเร็ว
โคลอน (Colon) เป็นส่วนที่ยาวที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย คือ
โคลอนส่วนขึ้น (AscendingColon) เป็นส่วนของโคลอนที่ยื่นตรงขึ้นไปเป็นแนวตั้งฉากทางด้านขวาของช่องท้อง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
โคลอนส่วนขวาง (Transverse Colon) เป็นส่วนที่วางพาดตามแนวขวางของช่องท้องยาวประมาณ 50 เซนติเมตร
โคลอนส่วนล่าง (Descending Colon) เป็นส่วนที่วิ่งตรงลงมาเป็นแนวตั้งฉากทางด้านซ้ายของช่องท้อง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ไส้ตรง (Rectum) เป็นส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ มีลักษณะเป็นท่อตรง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ตรงปลายของไส้ตรงจะเป็น ทวารหนัก (Anus) โดยมีกล้ามเนื้อหูรูด 2 อัน ควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก กล้ามเนื้อหูรูดด้านใน ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ไม่อยู่ใต้บังคับของจิตใจ ส่วนกล้ามเนื้อหูรูดด้านนอกอยู่ใต้บังคับของจิตใจ และสำคัญมากในการควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก

ประวัติ ชีววิทยา

ประวัติชีววิทยามีบุคคลสำคัญหลายท่านในอดีตที่ เกี่ยวข้องในด้านพื้นฐานทางชีววิทยาที่สมควรจะได้นำขึ้นมากล่าวพร้อมๆกับผล งานย่อๆของบุคคลเหล่านั้นคือ

-Alistotle อาริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ เขาเป็นศิษย์เอกของเพลโต (Plato) นักปราชญ์คนสำคัญ คนหนึ่งในประวัติศาสตร์ และเป็นอาจารย์ของกษัตริย์องค์สำคัญพระองค์หนึ่งของกรีก คือ อาเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) อาริสโตเติลเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งทฤษฎีที่สำคัญต่าง ๆ ไว้มากมาย ถึงแม้ว่าทฤษฎีบางบทของเขาเมื่อนำมาทดสอบ เพื่อหาข้อสรุปที่ถูกต้อง ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด แต่นั้นก็เป็นเพียงทฤษฎีส่วนหนึ่งของอาริสโตเติล ยังมีทฤษฎีอีกมากมายที่ถูกต้อง และยึดถือกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะทฤษฎีเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งเขาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังกับสัตว์ ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง

-Harwey,William (ค.ศ.1518-1657)มีความสำคัญด้านค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยาเอมบริโอและใน ปีค.ศ.1651เขาสรุปว่า"สิ่งมีชีวิตจะเริ่มจากไข่"ต่อมาฮาร์วี่ได้แสดงถึงทิศการไหลเวียนของเลือด ซึ่งเป็นงานที่ยอมรับกันจนถึงปัจจุบัน

-Hooke,Robert(.1605-1703)ฮุกได้พบ สิ่งที่คนยังไม่เคยพบเห็นมาก่อน ในปีค.ศ.1665จากการที่เขานำเอาชิ้นไม้คอร์กมาส่องดูด้วยเลนส์ขยายและเห็นเป็นช่องๆแต่ละช่องฮุกเรียกว่า"เซลล์"

-Leeuwenhoek,Antony (ค.ศ.1632-1723) ระหว่างปีค.ศ.1675-1680เลเวนฮุกได้นำเลนส์มาประกอบกันเป็นกล้องจุล ทรรรศน์ และส่องดูหยดน้ำที่เก็บมาจากบ่อเขาพบสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เดียวหลายชนิดนับ เป็นการเปิดโลกทางชีววิทยาโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ -Linnaeus,Carolus(ค.ศ.1707-1778) ได้นำเสนอการตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตโดยใช้ชื่อ2ชื่อ ชื่อหน้าเป็นชื่อสกุลตามด้วยสปีชีส์ตั้งแต่นั้นมาชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตได้ใช้หลักการที่เรียกว่าการ ตั้งชื่อแบบสองชื่อ(binomial nomenclature) ของลินเนียสจนถึงปัจจุบัน

-Lamarck,J.B.(ค.ศ.1744-1829)ในปีค.ศ.1801ลามาร์กได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับ วิวัฒนาการไว้นั่นคือ กฏการใช้และไม่ใช้และเน้นว่าลักษณะที่เรียกว่าลักษณะที่ได้ มา(acquiredcharacteristics)สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้